ฮวงจุ้ยบ้าน

การสร้างหรือจัดฮวงจุ้ยบ้านให้ได้ผลลัพธ์ดีที่สุด คือ การผสมผสานสายวิชาชัยภูมิ(形勢派) และสายวิชาเข็มทิศจีน(理氣派) ข้อดีของการใช้ศาสตร์ทั้งสองสายวิชา ผู้อยู่อาศัยในบ้านจะได้รับพลังชี่ที่รุ่งเรือง (旺气, Prosperous Qi) และกักเก็บพลังได้ถึง 3 รุ่น คือ พ่อแม่ รุ่นลูก รุ่นหลาน

เกณฑ์การพิจารณาเลือกแบบแปลนบ้าน

1. ทิศหันหน้า ทิศทางลม ทิศทางแดด

ในเมืองจีนมีอากาศหนาวเย็ย จึงมีเคล็ดลับฮวงจุ้ยสายชัยภูมิ จัดให้หน้าบ้านหันทิศใต้ เพื่อให้หลังพิงทิศเหนือ ทำให้บ้านรับพลังกลุ่มดาวสี่สัตว์เทพ มังกรเขียว เสือขาว เต่าดำ นกแดง เข้าถึงพลังชี่ที่รุ่งเรือง รับลมอุ่น รับแสงแดดตามฤดูกาลได้อย่างเต็มที่

ตรงกันข้ามกับเมืองไทย อากาศร้อนชื้น จึงนิยมหันหน้าบ้านทิศเหนือ ทิศตะวันออก เพื่อรับลมทำให้บ้านเย็นสบาย เนื่องจากความแตกต่างทางชัยภูมิประเทศทำให้ในเมืองไทยไม่นิยมจัดฮวงจุ้ยตรงตามวิธีดั้งเดิม แต่จะปรับประยุกต์ด้วยฮวงจุ้ยสายเข็มทิศจีนเพื่อให้รับพลังชี่อย่างเหมาะสม โดยคำนวนจากทิศหันหน้าบ้าน

2. ประตูหลัก ประตูรอง

ตามหลักฮวงจุ้ยชัยภูมิ ประตูหน้าบ้านที่เปิดรับพลังชี่ให้เข้ามาภายในบ้าน เปรียบเหมือนปากของบ้าน เมื่อเรามีปากที่ดี เราก็จะสามารถรับพลังชี่ได้มาก ประตูที่ดีจึงมีความสำคัญในการกักเก็บและกระจายพลังชี่ภายในบ้าน

เกณฑ์เบื้องต้นในการมองลักษณะดีของประตูหลัก ดังนี้

  • วัสดุ สี ธาตุ ลักษณะพลังของประตู สอดคล้องกับทิศตามวิชาฮวงจุ้ยแปดทิศ
  • ตำแหน่งประตูไม่ทับเส้นศูนย์สิ้น คือ ไม่ลงทิศ 0 ํ, 90 ํ,180 ํ, 270 ํ
  • เมื่อเปิดประตูจะมีลมอ่อนๆเย็นสบายพัดผ่าน และ เปิดออกมาเจอพื้นที่โล่งโปร่ง เข้าออกสะดวก

V_MvctL8wNg

นอกจากประตูหลัก การออกแบบฮวงจุ้ยบ้านก็ควรให้ความสำคัญกับประตูเล็ก ประตูเฉลียง เพราะ บังคับการเคลื่อนไหวของลม มีผลกระตุ้นการไหลเวียนพลังชี่ในบ้าน และ สามารถใช้เป็นประตูทางเลือกในปีชง

เกณฑ์เบื้องต้นในการมองลักษณะดีของประตูเล็ก/รอง ดังนี้

  • ประตูเล็กจะต้องมีขนาดเท่ากัน หรือ ใหญ่กว่าประตูในบ้านเล็กน้อย

  • ประตูเล็กจะต้องไม่มีการวางของขวางประตู

  • ประตูเล็กควรที่จะหันคนละทิศกับประตูหน้าบ้าน และ ไม่สามารถเห็นได้จากหน้าบ้าน

3. พื้นที่และขนาดบ้าน

การจัดพื้นที่บ้าน ตำแหน่งของบ้าน ตามหลักวิชาฮวงจุ้ยชัยภูมิ จะเน้นการจัดวางให้เกิดสมดุลสร้างรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส และ มีขนาดของบ้านเหมาะสมกับจำนวนผู้อยู่อาศัย

  • กรณีที่มีผู้อยู่อาศัยในบ้านเพียง 1-2 คน ก็ควรเลือกบ้านที่มีขนาด 2 ห้องนอน พื้นที่บ้านไม่ใหญ่มาก เพื่อป้องกันพลังหยางเปลี่ยนเป็นพลังหยิน สร้างปัญหาสุขภาพ
  • กรณีที่มีผู้อยู่อาศัยเป็นครอบครัวใหญ่ มีหลายช่วงอายุ ก็สามารถเลือกสร้างบ้านหลังใหญ่ มีพื้นที่มาก เพื่อให้เกิดการกักเก็บพลังชี่เพียงพอส่งพลังให้สมาชิกในบ้าน สร้างความเจริญรุ่งเรืองต่อเนื่อง

4. บริเวณบ้าน

นอกเหนือจากเรื่องของขนาดของบ้านแล้ว สภาพแวดล้อมก็สำคัญ เพราะ พื้นที่รอบบ้านมีผลกับคุณภาพพลังที่เคลื่อนไหวเข้าภายในบ้าน

เกณฑ์พิจารณาแบบบ้านเบื้องต้น ตามหลักวิชาฮวงจุ้ยแปดทิศ มีดังนี้

  • โรงจอดรถ รถยนต์ เป็นลักษณะธาตุโลหะ เมื่อจัดวางในทิศตะวันตก ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ก็จะมีพลังส่งเสริมเรื่องหน้าที่การทำงาน ความก้าวหน้า
  • บ่อปลา สระว่ายน้ำ* เป็นลักษณะธาตุน้ำ เมื่อจัดวางในทิศเหนือหน้าบ้าน หรือ ในตำแหน่งมังกรเขียว ก็จะส่งเสริมความมั่งคั่ง การลงทุน
  • สวนหิน หินประดับ เป็นลักษณะธาตุดิน เมื่อจัดวางในทิศตะวันตกเฉียงใต้ หรือ ในตำแหน่งหลังบ้าน ก็จะส่งเสริมการสนับสนุน
  • สวนไม้ดอกไม้ประดับ เป็นลักษณะธาตุไม้ เมื่อจัดวางในทิศตะวันออก หรือ ใช้ในการแก้ลักษณะพิฆาต ก็จะเกิดการส่งเสริมพลังชี่ให้เคลื่อนไหว สร้างความเจริญรุ่งเรือง
  • โคมไฟ ลานหน้าบ้าน เป็นลักษณะธาตุไฟ เมื่อจัดวางหน้าบ้านจะเป็นจุดที่พลังชี่สะสมได้อย่างนุ่มนวล ก่อนจะส่งต่อเข้าในบ้าน
house plans

5. การแบ่งพื้นที่ในบ้าน ห้องนอน ห้องทำงาน ห้องพระ

เมื่อจัดฮวงจุ้ยนอกบ้าน จึงมาจัดพื้นที่ภายในบ้าน โดยเน้นฮวงจุ้ยสายเข็มทิศจีน เน้นหลักวิชาดาวเหิร เพื่อให้เข้าถึงพลังความเจริญของยุค เข้าถึงจุดพลัง จุดรับทรัพย์ จุดสนับสนุน ได้ครบทั้ง 9 จุดสำคัญ

เกณฑ์พิจารณาเบื้องต้นเมื่อได้ผังดาวเหิร มีดังนี้

  • ห้องนอน เป็นห้องที่เสริมดวงเจ้าของห้อง ส่งเสริมเรื่องความก้าวหน้า จึงควรเลือกทิศห้อง ทิศหัวเตียง หันไปทิศนักษัตรคู่ฮะ คู่ซาฮะ และ ออกแบบให้ตำแหน่งเตียงอยู่ในจุดรับทรัพย์ หรือ จุดพลังสนับสนุน
  • ห้องทำงาน เป็นห้องที่เสริมการทำธุรกิจ การเงิน ควรวางตำแหน่งห้องในจุดพลัง หรือ จุดรับทรัพย์ (คู่ปฏิกิริยาที่ดีที่สุด คือ 8-8) และ ออกแบบให้นั่งทำงานในตำแหน่งประธาน หลังผิงกำแพงมีความมั่นคง
  • ห้องอ่านหนังสือ เป็นห้องที่ส่งเสริมการศึกษา/การสอบแข่งขัน ควรจัดวางในจุดสนับสนุน และ หันโต๊ะอ่านหนังสือไปทิศเจริญรุ่งเรือง ซึ่งสามารถทราบได้จากการคำนวนเลขกัวหมิง โดยสาเหตุที่ต้องแบ่งแยกการใช้พื้นที่เรียน ออกจากพื้นที่นอน เป็นเพราะต้องแบ่งลักษณะหยินกับหยางให้ชัดเจน
  • ห้องพระ ตามธรรมเนียมไทยจะจัดวางตำแหน่งห้องพระทางทิศเหนือ เดินเข้าทางขวามือ หันหิ้งพระไปทิศตะวันออก หรือ ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเกิดการรับ และ สะสมพุทธคุณ
  • ห้องรับประทานอาหาร เป็นห้องที่ส่งเสริมสัมพันธ์อันดีในครอบครัว และ ความมั่งคั่งของสมาชิกทุกคนในบ้าน จึงควรจัดวางในจุดพลังสนับสนุน มีการวางกระจกเพื่อขยายความเป็นสิริมงคล


จากเนื้อหาที่กล่าวมา สิ่งที่เราจะต้องคำนึงถึง คือ ความสมดุล จัดพื้นที่ในบ้านให้ใช้งานได้สะดวก เพื่อสมาชิกในบ้านทุกคนจะสามารถรับพลังชี่ พลังความเจริญก็จะส่งเสริมสมาชิกที่อาศัยในบ้านได้อย่างเหมาะสม

จองคิว ดูดวง/ตรวจฮวงจุ้ย กับ FengshiMee