วิธีการตรุษจีน ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดใช้
ตรุษจีน เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทินจีน และจุดเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ ทุกๆ ครอบครัวในเมืองจีนก็จะทำความสะอาดบ้านเรือน เพื่อให้เป็นการก้าวผ่านปีใหม่ไปได้อย่างสะอาด สดใส ภายในร้านรวงต่างๆ ตลอดจนห้างสรรพสินค้าต่างเต็มไปด้วยผู้คนที่เดินทางมาจับจ่ายใช้สอย ซื้อเสื้อผ้าใหม่ๆ ให้กับเด็กๆ ซื้อของขวัญให้กับญาติสนิทมิตรสหาย ซื้อบัตรอวยพรในโอกาสมงคล
โดย ตรุษจีนปี2566 ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม 2566 วันไหว้ไฉ่ซิงเอี้ย คือ คืนวันเสาร์ที่ 21 มกราคม 2566 ช่วงเวลา 5ทุ่ม ถึง ตีหนึ่ง หันทิศเหนือ หรือ ทิศใต้
ตอนเช้า จะเริ่มพิธีการไหว้ เจ้าที่ โดยเป็นการไหว้ซาแส ผลไม้ และ ขนม
ตอนสาย จะทำพิธีการไหว้ บรรพบุรุษ พ่อแม่ หรือญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว โดยเป็นการแสดงความกตัญญูตามความเชื่อและคติของจีน ซึ่งในการไหว้ครั้งนี้จะใช้เวลาไม่เกินเที่ยง มีเครื่องประกอบการไหว้ คือ ซาแซ อาหารคาวหวาน (ส่วนใหญ่จะทำตามสิ่งที่ผู้ล่วงรับชอบรับประทาน) รวมทั้งมีการเผากระดาษเงินกระดาษทอง เสื้อผ้ากระดาษเพื่อเป็นการอุทิศแด่ผู้ล่วงลับ จากนั้น ญาติพี่น้องจะมารวมกันรับประทานอาหารที่ได้เซ่นไหว้ไปเพื่อความเป็นสิริมงคล และถือเป็นเวลาครอบครัว หรือวงศ์ตระกูลที่จะรวมตัวกันได้มากที่สุด ปิดท้ายด้วยการแลกอั่งเปาหลังจากที่ได้รับประทานอาหารร่วมกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
หมายเหตุ สำหรับครอบครัวที่เชื่อสายมาจากกวางตุ้ง นิยมไหว้บรรพบุรุษช่วงเย็น
ของไหว้ตรุษจีน ไหว้เจ้าที่ แบบจัดชุดใหญ่ ครบสมบูรณ์ คือ
- ไก่* 1 ตัว หรือ กุ้งอบวุ้นเส้น (มีกุ้ง 2 ตัว)
- ไข่เป็ดย้อมสีแดง 8 ฟอง
- หมูสามชั้น 1 ชิ้น หรือ กุนเชียง 1 ชิ้น หรือ หมูยอ 1 ชิ้น หรือ ปลาหมึกแห้ง 1 ตัว
- ผลไม้ 3 อย่าง ส้ม 8 ลูก* และ แอปเปิ้ล สาลี่
- ขนม 3 อย่าง ขนมเข่ง ขนมเทียน ขนมเปี๊ยะ
- สุรา และ น้ำชา อย่างละ 5 ถ้วย
- กระดาษเงินกระดาษทองไหว้เจ้า (หงึ่งเตี๋ย) 2 ชุด
- ดอกไม้สด 2 แจกกัน
- เทียนแดงขาไม้ 1 คู่
- ธูป 5 ดอก
ของไหว้ตรุษจีน ไหว้เจ้าที่ แบบเรียบง่าย คือ
- ข้าวมันไก่ 1 ห่อ
- ไข่ต้มสุก 2 ฟอง (ทั้งลูก)
- ข้าวหมูกรอบ 1 ห่อ
- ผลไม้ 3 อย่าง ส้ม 2 ลูก และ แอปเปิ้ล สาลี่
- ขนม 3 อย่าง
- น้ำชา อย่างละ 5 ถ้วย
- เทียนแดงขาไม้ 1 คู่
- ธูป 5 ดอก
ของไหว้ตรุษจีน ไหว้บรรพบุรุษ แบบจัดชุดใหญ่ กับข้าว 9 อย่าง คือ
- เป็ดย่าง 1 ตัว
- ปลานึ่งซีอิ้ว 1 ตัว
- กุ้งอบวุ้นเส้น
- หมูกรอบ 1 จาน
-
ไก่แช่เหล้า 1 จาน
-
ซุปเยื่อไผ่
- ผัดโหงวก๊วย
- กุ้งชุบแป้งทอด
- ซาลาเปาไส้หมูสับ 8 ลูก
- ผลไม้ 8 อย่าง ส้ม 8 ลูก และ แอปเปิ้ล สาลี่
- ขนม 5 อย่าง ขนมเข่ง ขนมเทียน ขนมเปี๊ยะ
- สุรา และน้ำชา ตามจำนวนบรรพบุรุษ
- กิมจั้ว (กระดาษไหว้บรรพบุรุษ) ตามกำลังทรัพย์
- อวงแซจี้ (ใบผ่านทาง) สีเหลือง ตามกำลังทรัพย์
- ดอกไม้สด 2 แจกกัน
- เทียนแดงขาไม้ 1 คู่
- ธูป 3 ดอก
การประกอบพิธีไหว้บรรพบุรุษ
1.จัดวางข้าวสวย ตั้งเรียงแถวหน้ากระดาน พร้อมด้วยตะเกียบและช้อน โดยให้ด้ามตะเกียบและด้ามช้อนหันไปที่รูปของบรรพบุรุษ
2.จัดวางกับข้าวตั้งเรียงถัดออกมา แล้วถัดออกมาอีกวางถาดผลไม้และถาดขนม จากนั้นจึงจะเป็นเครื่องกระดาษกงเต็กที่ต้องการจะส่งให้บรรพบุรุษ
3.การจุดธูปเทียนก็ตามปกติ แต่ควรให้เกียรติผู้อาวุโสสูงสุดในตระกูลเป็นคนจุดธูปเทียนไหว้ก่อน และให้ลูกหลานไหว้ตามลำดับขั้น
4.เผากระดาษ กิมจั้ว และ อวงแซจี้
ความหมายของผลไม้ที่ใช้ไหว้เจ้า
- กล้วย หมายถึง กวักโชคลาภเข้ามา และขอให้มีลูกหลานเต็มบ้านเต็มเมือง
- แอปเปิล หมายถึง ความสันติสุข สันติภาพ
- ส้มสีทอง หมายถึง ความสวัสดีมหามงคล
- องุ่น หมายถึง ความเพิ่มพูน
- สับปะรด หมายถึง มีโชคมาหา